กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้เปิดการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต คลื่น 2600MHz จำนวน 19 ใบอนุญาต และ คลื่นความถี่ 26GHz จำนวน 27 ใบอนุญาตโดยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่(โอเปอเรเตอร์)เข้าร่วมประมูลทั้งหมด 5 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AIS) บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TrueMove H)บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTAC)บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) และบริษัท ทีโอที จำกัด (TOT)
การประมูลคลื่นความถี่ 700MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต มี ผู้ชนะการประมูลมี 2 รายได้แก่ CAT 2 ใบและ AIS 1 ใบยอดรวมทั้งหมด 51,460 ล้านบาท คลื่นความถี่ 2,600MHz จำนวน 19 ใบอนุญาตมีผู้ชนะการประมูล 2 รายได้แก่ AIS 10 ใบและ TRUE 9 ใบยอดรวมทั้งหมด37,434 ล้านบาทและสุดท้ายคลื่นความถี่ 26GHz จำนวน 27 ใบอนุญาตแต่มีการประมูลทั้งหมด 26 ใบอนุญาต มีผู้ชนะการประมูลทั้งหมด 4 รายได้แก่ AIS 12 ใบ TRUE 8 ใบ TOT 4 ใบและ DTAC 2 ใบ ยอดรวมทั้งหมด 11,627 ล้านบาท
สรุปการประมูลครั้งนี้มีเงินค่าประมูลใบอนุญาตทั้งหมดรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,521 ล้านบาท
AIS สามารถคว้าได้ทั้ง 3 คลื่นความถี่ได้ทั้งหมด 23 ใบอนุญาตรวมเป็นทั้งสิ้น 42,060 ล้านบาท
CAT สามารถคว้าคลื่นความถี่ 700MHz จำนวน 2 ใบอนุญาตรวมเป็นทั้งสิ้น 34,306ล้านบาท
TRUE สามารถคว้าคลื่นความถี่ 2,600MHz และ 26GHz ได้ทั้งหมด 17 ใบอนุญาตรวมเป็นทั้งสิ้น 21,449.6 ล้านบาท
TOT สามารถคว้าคลื่นความถี่ 26GHzได้ทั้งหมด 4 ใบอนุญาตรวมเป็นทั้งสิ้น 1,795 ล้านบาท
DTAC สามารถคว้าคลื่นความถี่ 26GHzได้ทั้งหมด 2 ใบอนุญาตรวมเป็นทั้งสิ้น 910.4 ล้านบาท
สำหรับบริการ 5G ผู้ที่ได้รับอนุญาตสามารถเริ่มติดตั้งโครงข่ายได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นไปและจะทดลองให้บริการระบบ 5G ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นที่แรกก่อนขยายไปยังท่าอากาศยานแห่งอื่น หากเป็นไปตามแผน จะพร้อมเปิดให้ให้บริการ 5G ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2563